สูงวัยไร้ซึมเศร้า

สูงวัยไร้ซึมเศร้า 

 
 
 
 
  
 
โรคซึมเศร้าสำหรับคนขี้เหงาเป็นอาการเจ็บป่วยของร่างกายอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับทุกวัย แต่ที่พบได้บ่อยคือคนวัยเกษียณหรือสูงอายุ หรือสูงวัย นะคะ ถ้าท่านมีคนใกล้ชิดที่มีวัยใกล้เกษียณอายุ คือหลัง 55-60 ปี ก็มักจะเจอกับปัญหาที่เรามองไม่เห็น หรือไม่สามารถบ่งบอกได้จากภายนอกเพราะเป็นอาการที่เกิดภายในจิตใจ และอารมณ์ ความคิดต่าง ๆ มักจะทำให้จิตใจห่อเหียวไม่กระชุ่มกระชวยเหมือนวัยหนุ่มสาว วัยเด็ก หรือวัยทำงาน ชมรมแพทย์แผนไทย ลูกศิษย์ อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ จึงอยากขอให้ทุกท่านควรเอาใจใส่ผู้สูงวัยที่ใกล้ชิดและบุคคลที่ท่านรักด้วยความรักและห่วงใยอย่างสม่ำเสมอกันนะคะ เพื่อความสุขของทุกคนค่ะ

สาเหตุที่มักจะเกิดกับผุ้สูงวัยนี้ ชมรมแพทย์แผนไทย ลูกศิษย์ อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ พบว่ามีสาเหตุมาจากผู้สูงวัยมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ ด้วยเคยทำงานต้องใช้กำลังกาย กำลังความคิด และพลังงานอย่างเต็มที่ แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยเกษียณ สิ่งที่เคยทำ หรือเคยปฎิบัติได้ถูกเปลี่ยนแปลงไป เช่นไม่ต้องรีบตื่นแต่เช้าไปทำงาน หรือคิดเพื่อให้ได้ผลงานภายในเวลาอันจำกัด เมื่อสิ่งต่าง ๆ หายไปจากชีวิต ย่อมมีผลกระทบต่อจิตใจในส่วนลึก

จากการตรวจรักษาผู้ป่วยที่ได้เข้ามารับบริการที่ ชมรมแพทย์แผนไทย ลูกศิษย์ อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ ในเวลาที่เราออกหน่วยกัน เรามักจะพบว่าคนไข้มีอาการปวดทั่วตัวอยู่หลายจุดในร่างกาย เข่นที่หลัง สะบัก ไหล่ บ่า เอว เข่า เท้าบ้าง และรู้สึกมีอาการปวดมาก โดยผู้ป่วยจะเล่าให้ฟังในเรื่องชีวิตส่วนตัวบ้าง ปัญหาที่เคยประสบในอตีต ความล้มเหลวของชีวิต ต่าง ๆ ซึ่งดูเหมือนว่าจะต้องการพูดคุยกันมากกว่าที่จะรักษาให้อาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่นี้หายไป

วิธีการรักษา ทีมงาน ชมรมแพทย์แผนไทย ลูกศิษย์ อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ จึงมีข้อสังเกตว่าผุ้ป่วยหลังจากได้พูดคุยระบายความในใจในสิ่งที่ต้องการเมือ่มีผู้รับฟังแล้วจะรู้สึกสบาย ดีขึ้น เหมือนเบาตัว ผ่อนคลายอาการเจ็บปวดลงได้มาก แน่นอนว่าความเจ็บปวดที่เกิดต่อร่างกายย่อมมาจากจิตใจ หากเราดูแลรักษาจิตใจให้สดชื่น มีคนคอยดูแลรับฟังพูดคุยด้วยอย่างใกล้ชิด ด้วยความรักและอบอุ่นก็จะทำให้การเจ็บป่วยต่อร่างกายลดน้อยลงหรืออาจจะไม่เกิดขึ้นเลย เป็นยาใจที่ดีนี่้เอง และหากเป็นลูกหลานหรือคนที่ีมีความสัมพันธ์ทางครอบครัว หรือคนใกล้ชิดแล้วก็จะช่วยทำให้ผู้สูงวัยไร้ซึมเศร้ากันนะคะ

การรักษาดูแลจิตใจของผู้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาทางจิตเวชซึ่งได้ผลคุ้มค่ามาก เป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่เราประสบมาโดยตรงจาก คุณหมอเกตุมณี ชนะวงษ์ ประธานชมรมของเรา จึงนำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ ชมรมแพทย์แผนไทย ลูกศิษย์ อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ จึงอยากขอแนะนำการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับผู้สูงวัยในเบื้องต้นด้วยวิธีง่าย ๆ มาฝากกันเพื่อความสุขอย่างยั่งยีนค่ะ



 กลับสู่ สาระสุขภาพ


กับ ชมรมแพทย์แผนไทย ลูกศิษย์ อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ


http://thaimedclub.blogspot.com/
 
 
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
 
 
 
    Blogger Comment
    Facebook Comment