สูงวัยห่างไกลอัลไซเมอร์ (Alzheimer)

สูงวัยไม่หลงลืม

 
  
อัลไซเมอร์ หรือ Alzheimer ถือเป็นโรคที่บั่นทอนทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่ได้ทำลายเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้นแต่ทำลายคนใกล้ชิดของผู้ป่วยอย่างยากที่จะทน คุณหมอทีมงาน ชมรมแพทย์แผนไทย ลูกศิษย์ อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ ให้เราสังเกตอาการสำคัญของโรคคือ การหลงลืม ไม่สามารถจดจำอะไรได้ เป็นความผิดปกติทางสมองโดยอาจค่อย ๆ เป็น หรือเป็นมากในคราวเดียว ลูกของคนไข้อัลไซเมอร์คนหนึ่งพูดถึงอัลไซเมอร์ว่ามันคือขโมยที่เข้ามาขโมยวิญญาณ ขโมยหัวใจของคนที่เรารักไป นี่คืออัลไซเมอร์โรคที่ไม่มีใครอยากเป็นและไม่อยากให้คนที่รักเป็น

ชมรมแพทย์แผนไทย ลูกศิษย์ อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ มีความห่วงใยในผู้สูงวัยจึงขอนำเสนอเรื่องการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยในอัลไซเมอร์กัน เรามีผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยอัลไซเมอร์รายหนึ่งเล่าถึงผู้เป็นพี่สาว ขออนุญาตไม่เอยนามของท่านนะคะ ว่าพี่สาวเคยเป็นคนเก่ง เป็นคนสวย โดยสมัยที่ยังสาวก็ยิ่งสวยและมีเสน่ห์ เรียนจบปริญญาโท แล้วเข้าทำงานรับราชการที่กรมพัฒนาที่ดินในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์วิจัยดิน ขับรถเก่ง เปรี้ยวและกล้าตัดสินใจ แต่แล้วก่อนที่จะเกษียณสัก 5-6 ปี ท่านก็เริ่มมีอาการหลงลืม รถขับกลับบ้านชนยับเยินมาทีเดียว แต่เมื่อถามก็ตอบไม่ถูกว่าเกิดอะไรขึ้น หนักๆ เข้าก็ลืมวิธีขับรถโดยขณะที่ขับรถไปด้วยกันนั้นเอง ก็ขับต่อไม่ถูก กรีดเสียงตะโกนเสียงแหลมด้วยความตกใจสุดขีดว่า “ฉันขับต่อไปไม่ได้ ไม่รู้วิธีขับรถ!”   
 ทุกวันนี้พี่สาวของเธอได้เป็นคนป่วยโรคอัลไซเมอร์เกือบขั้นสุดท้ายแล้ว คือไม่สามารถจดจำในสิ่งใดได้ ลืมหมดสิ้นทุกคนที่เคยรู้จัก ลืมวิธีการกิน การเดิน การพูด ชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างยากลำบาก ทั้งตัวผู้ป่วยเองและผู้ดูแล เธอต้องอาบน้ำ ป้อนข้าว ดูแลทุกอย่างทั้งการขับถ่าย.. และเมื่อเห็นแววตาพี่สาวมองมายังตนแล้วเธอก็อดสะท้อนใจไม่ได้ เพราะแววตานั้นไร้สิ้นซึ่งความหมายและความจดจำใดๆ นี่คือความน่าสะพรึงกลัวของอัลไซเมอร์ที่หากไม่อยากเป็นก็ต้องป้องกันตั้งแต่ยังไม่มีอาการ 

 

ทำอย่างไรสมองไม่เสื่อม 

 
พญ.สิรินทร  ฉันศิริกาญจน นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม กล่าวว่าเนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคจึงยังไม่มีวิธีป้องกัน อย่างไรก็ตาม โรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคสมองเสื่อมในคนไทยสามารถ ป้องกันได้ โดย
 
1 การรับประทานอาหารที่เหมาะสม
2 การออกกำลังกาย
3 การลดความเครียด
การเลิกบุหรี่
และ 5 การงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด

1 การรับประทานอาหารที่เหมาะสม
1 รับประทานอาหารที่ช่วยลดและชะลอความเสื่อมของเซลล์สมอง และสารสื่อประสาท
พบในธัญพืชต่างๆ จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง ข้าวกล้อง มันฝรั่ง กล้วย กะหล่ำปลี นมสด ผักต่าง ๆ ช็อกโกแลต รวมทั้่ง สมุนไพรบางชนิด เช่น ขิง พุทราจีน และเห็ดหูหนู
ขณะเดียวกันก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ของหวาน ผลไม้รสหวานจัด โดยพยายามทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในแต่ละวัน
สำหรับโปรตีน เน้นเนื้อปลา บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุไม่เจริญอาหารเนื่องจากขาดความกระตือรือล้นที่จะรับประทาน หาสาเหตุให้พบและแก้ไข พึงสังวรว่าสารอาหารในแต่ละมื้อจำเป็นต่อสมองของท่าน
      หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม ของหมักดอง และอาหารที่ใส่ผงชูรส หลีกเลี่ยงกาเฟอีนในเครื่องดื่มพวกชา กาแฟ หรือโคล่า เพราะอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ ส่งผลให้วิตามินแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น วิตามินบีรวม โปแตสเซียม สังกะสี ถูกทำลายทำให้สมองทำงานแย่ลงไม่เต็มประสิทธิภาพ

2 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
โดยผู้สูงอายุสามารถออกกำลังเบาๆ เช่น ทำโยคะ หรือไทเก๊กที่เหมาะสมกับสุขภาพกาย และควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินพิกัด

3 การลดความเครียด โดยทำควบคู่กับการควบคุมอาหาร

4-5 บุหรี่และแอลกอฮอล์ของดเด็ดขาด

หลักปฎิบัติข้างต้นนี้เป็นข้อพึงระวังอย่างยิ่ง และ ชมรมแพทย์แผนไทย ลูกศิษย์ อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ มีข้อแนะนำเสริมเพิ่มเพื่อการดูแลป้องกันที่ดีในการสร้างความสมดุลให้กับชีวิต คือการดูแลด้านจิตบำบัด และอย่าลืมดูแลตัวเองด้านจิตสังคมด้วย รวมทั้งด้านกายภาพบำบัดและกิจกรรมฟื้นฟูความจำ การจัดกิจกรรมสำหรับตัวเองให้ใช้ความคิดอย่างสม่ำเสมอ อย่างง่าย ๆ สบาย ชิล ๅ ไม่เคร่งเครียด เช่น คิดเลขเมื่อไปจ่ายตลาด บวกเลขทะเบียนรถ นับเลขถอยหลังจาก 500-1 เป็นต้น

 
นอกจากนี้การเข้ากิจกรรมสังคมในทุกเรื่องเท่าที่มีโอกาสอันเหมาะสม การมีปฎิสัมพันธ์ที่ดี มีทัศนะคติที่ดีต่อผู้อื่น เช่น การพบปะพูดคุย แวะเวียนเยี่ยมเยียนเพื่อนฝูง พี่น้อง ญาติสนิท การผูกมิตรไมตรีต่อผู้อื่น เข้าร่วมประชุมสัมมนา แสดงความคิดเห็น การถ่ายทอดประสบการณ์ ร้องเพลง เล่นเกม เต้นรำ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการผ่อนคลายอันมีส่วนสำคัญต่อการป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ทั้งสิ้น โดยทาง ชมรมแพทย์แผนไทย ลูกศิษย์ อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ ยินดีจะจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงวัยเพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีในระยะต่อไป
การรักษาความสมดุลของชีวิตด้วยจิตบำบัดนัันรวมถึง การทำสมาธิ ฝึกจิดใจให้มีความสดชื่น จิตผ่องใส มีชีวิตชีวา การมองชีวิตด้วยความเข้าใจในสิ่งที่ดี การปล่อยวาง การปฎิบัติศาสนกิจ ปฎิบัติธรรม การทบทวนคำสอนของศาสนา การสวดมนต์ภาวนา การมีจิตกุศลคิดในสิ่งที่ดี สร้างจินตนาการที่ดี การใช้คำพูดที่ดี สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบทางเคมีในการทำงานของร่างกาย พัฒนาเป็นเซลล์สมองในความทรงจำที่ดีบ่อยครั้ง ย่อมทำให้ระบบการทำงานของสมองมีการทำงานที่ลื่นไหลได้มากขึ้น

วิธีการทดสอบอัลไซเมอร์ 

แบบทดสอบต่อไปนี้ แปลจากบทความใน British Medical  Association โดย ชาญกัญญา ตันติลีปิกร (วท.ม.จิตวิทยาคลินิก) สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหิดล และ พญ.โสภา เกริกไกรกุล หน่วยประสาทวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพฯ และวชิรพยาบาล
ขอย้ำว่าเป็น แบบทดสอบเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งแม้จะตอบว่า “ใช่” ทุกข้อก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นอาการของอัลไซเมอร์ทุกกรณีไป เนื่องจากการวินิจฉัยโรคจะมีปัจจัยเรื่องความถี่ที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย
 
1 หาของใช้ในบ้านไม่พบ
2 จำสถานที่ที่เคยไปบ่อยๆ ไม่ได้
3 ต้องกลับไปทบทวนงานที่แม้จะตั้งใจทำซ้ำถึง 2 ครั้ง
4 ลืมของที่ตั้งใจว่าจะนำเอาออกไปนอกบ้านด้วย
5 ลืมเรื่องที่ได้รับฟังมาเมื่อวานนี้หรือเมื่อ 2-3 วันก่อน
6 ลืมเพื่อนสนิทหรือญาติสนิท หรือบุคคลที่คบหากันบ่อยๆ
7 ไม่สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องในหนังสือพิมพ์หรือวารสารที่อ่าน
8 ลืมบอกข้อความที่คนอื่นวานให้มาบอกอีกคนหนึ่ง
9 ลืมข้อมูลส่วนตัวของตนเอง เช่น วันเกิด ที่อยู่
10 สับสนในรายละเอียดของเรื่องที่ได้รับฟังมา
11 ลืมที่ที่เคยวางสิ่งของนั้นเป็นประจำ หรือมองหาสิ่งของนั้นในที่ที่ไม่น่าจะวางไว้
12 ขณะเดินทางหรือเดินเล่นอยู่ในอาคารที่เคยไปบ่อยๆ มักเกิดเหตุการณ์หลงทิศ
 
หากคุณตอบว่า ใช่ มาก ควรลองทบทวนอีกทีนะคะ คราวหน้าเราจะมาแนะนำวิธีเรียกความทรงจำที่ดีกลับคืนมาเพื่อความสุขและสุขภาพที่ดีของทุกคน


ด้วยความปราถนาดี จาก ชมรมแพทย์แผนไทย ลูกศิษย์ อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ
 
พบกับเราได้ในโอกาสต่อไปค่ะ

กลับสู่ สาระสุขภาพ

ชมรมแพทย์แผนไทย
 
 
อ่านเรื่องที่เกี่ยวช้อง
 

    Blogger Comment
    Facebook Comment