โภชนบำบัดสำหรับผู้สูงวัย
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ (Guide for Eating)
1. พลังงาน ลดอาหารประเภทให้พลังงานลงเช่นไขมันและคาร์โบไฮเดรต ประมาณร้อยละ 10-20 ของพลังงานทั้งหมด
2. คาร์โบไฮเดรต ไม่ควรรับประทานน้ำตาลทรายมากเกินไป เพราะจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานหรือภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงได้ง่าย
3. โปรตีน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับโปรตีนครบถ้วน ควรจัดให้ดื่มนมวันละ 1 แก้ว และรับประทานไข่วันละฟอง ถ้าผู้สูงอายุที่มีที่มีปัญหาโคลเลสเตอรอลควรทานไข่วันเว้นวัน หรือรับประทานเฉพาะไข่ขาว ส่วนเนื้อสัตวือื่น ๆ ควรดัดแปลงให้ย่อยง่ายเช่น ต้มเปื่อย
4. ไขมัน ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดลิโนเลอิกในการปรุงอาหารเป็นประจำ
เช่น น้ำมันถั่งเหลือง รำข้าว เพช่วยควบคุมระดับโคลเลสเตอรอล
5. ใยอาหาร ควรได้รับอาหารประเภทผักและผลไม้ต่าง ๆ และควรได้รับใยอาหารวันละ 20-35 กรัม
เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักกาดขาว มะเขือเทศ ส้มเขียวหวาน กล้วยสุก เป็นต้น
6. ลดการดื่มสุราและงดสูบบุหรี่ เพราะเป็นปัจจัยทำให้ขาดสารอาหาร
7. ชาและกาแฟ ควรงดดื่มชา กาแฟ เพราะจะทำให้นอนหลับยาก
8. จำนวนมื้ออาหาร ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นวันละ 5-6 มื้อ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องแน่นท้อง
9. น้ำ ควรได้รับอย่างเพียงพอ ประมาณวันละ 1,500 ซีซี
10. จัดอาหารให้มีสีสัน กลิ่น รส เพื่อเพิ่มความอยากอาหารมากขึ้น จากสีสันธรรมชาติ
เช่น ผักใบเขียว มะเขือเทศ ซอสปรุงรส และอาหารควรอุ่นหรือร้อนพอควร
ตัวอย่างรายการอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
รายการอาหาร 1 วัน สำหรับปริมาณอาหาร 1,500 กิโลแคลลอรี่
โปรตีน 56 กรัม ไขมัน 50กรัม คาร์โบไฮเดรต 206 กรัมแบ่งเป็น 5 มื้อดังนี้
อาหารเช้า ให้พลังงาน 406 กิโลแคลอรี่
ข้าวสวย 1 ถ้วยตวง
ผัดผักบุ้ง 1 จาน (ผักบุ้ง 1 ถ้วยตวง เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันถั่วเหลือง 1 ช้อนชา)
แกงจืดวุ้นส้น 1 ถ้วย (วุ้นเส้น ? ถ้วยตวง เนื้อสับ 1 ช้อนโต๊ะ)
กล้วยน้ำว้า 1 ผล
อาหารกลางวัน ให้พลังงาน 440 กิโลแคลอรี่ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสับ 1 จาน (ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 1 ถ้วยตวง เนื้อวัวสับ 3 ช้อนโต๊ะ แป้งมัน 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ)
ชมพู่ 4 ผล
อาหารว่าง ให้พลังงาน 160 กิโลแคลอรี่สาคูไส้ถั่ว 5 ลูก
เงาะ 5 ผล
อาหารเย็น ให้พลังงาน 350 กิโลแคลอรี่
ข้าวสวย 1 ถ้วยตวง
ต้มยำกุ้ง 1 ถ้วย (กุ้งสดขนาดกลาง เห็ดตามต้องการ เครื่องต้มยำ)
ผัดถั่วงอก 1 ถ้วยตวง (ถั่วงอก 1 ถ้วยตวง เต้าหู้เหลือง 1 ชิ้น น้ำมันถั่วเหลือง 2 ช้อนชา)
ส้มเขียวหวาน 1 ผล
อาหารว่าง ให้พลังงาน 125 กิโลแคลอรี่
นมเปรี้ยวหรือโยเกิต 1 ถ้วยตวง
ภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุ (Malnutrition)
สำหรับ ผู้สูงวัย ที่รับประทานอาหารมากเกินไป หรือขาดอาหาร เรียกว่า ภาวะทุพโภชนาการ ในผู้สูงอายุนั้นอาจแบ่งได้ดังนี้
1. โรคขาดสารอาหาร คือการได้รับโปรตีนและพลังงานไม่เพียงพอจะมีผลทำให้เสี่ยงต่อการขาดวิตามิน เพราะอาหารประเภทโปรตีนเป็นแหล่งวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญด้วย โรคขาดวิตามินที่พบบ่อยในในผู้สูงอายุคือ โรคเหน็บชาจากการขาดไธอะมิน โรคขาดวิตามินบี 12 โรคขาดโฟเลตและวิตามินซี สำหรับโรคขาดเกลือแร่ที่พบบ่อยคือโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดเหล็ก โรคกระดูกพรุนเนื่องจากการขาดแคลเซี่ยมและสังกะสี
2. โรคโภชนาการเกิน ผู้สูงอายุที่ได้รับสารอาหารมากเกินไปย่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะกรดยูริคในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นภาวะที่มักจะพบในคนไทยและอีกหลายเชื้อชาติ
ฉะนั้น ผู้สูงอายุจึงควรรับประทานอาหารตามคำแนะนำข้างต้นนี้เพื่อมิให้ประสบกับภาวะทุพโภชนาการ และควรออกกำลังกายในกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อรักษาสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงมีอายุยืนยาว
ชมรมแพทย์แผนไทยลูกศิษย์ อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ หวังว่าคงจะทำให้ผู้สูงอายุและผู้อยู่ใกล้ชิดได้รับประโยชน์จากการแนะนำอาหารสำหรับผู้สูงอายุกัน เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน
Cr. คุณหมอมัยมูน
อ่านเรืองที่เกี่ยวข้อง
Blogger Comment
Facebook Comment